4. ต้นมะขาม

 

หากบ้านไหนต้องการให้ผู้อื่นเกรงขาม ตามความเชื่อเขาแนะนำให้ปลูกต้นมะขามไว้ทางทิศตะวันตก เพราะเชื่อกันว่า ต้นมะขามจะทำให้ผู้อยู่อาศัยเป็นที่น่าเกรงขามต่อผู้อื่น และทำให้คนชื่นชอบ นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันคดีความ ภูตผีปีศาจ และผีซ้ำด้ำพลอย

ต้นมะขาม
ชื่อท้องถิ่น: ต้นมะขาม
ชื่อสามัญ: Tamarind, Indian date
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tamarindus indica Linn
ชื่อวงศ์: LEGUMINOSAE
ลักษณะวิสัย

download

ประเภท: ไม้ยืนต้น
ลักษณะพืช: มีกิ่งก้านเยอะ ลำต้นมีสีน้ำตาลแก่ ใบเล็กเรียงตัวแบบสลับ
ปริมาณที่พบ: มาก
การขยายพันธุ์: ใช้กิ่ง/ลำต้น
อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์: ใช้เมล็ดขยายพันธุ์ และการตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์: สรรพคุณทางยา : ยาระบาย แก้อาการท้องผูก ใช้มะขามเปียกรสเปรี้ยว 10–20 ฝัก (หนัก 70–150 กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ หรือต้มน้ำใส่เกลือเล็กน้อยดื่มเป็นน้ำมะขาม ขับพยาธิไส้เดือน นำเอาเมล็ดแก่มาคั่ว แล้วกะเทาะเปลือกออก เอาเนื้อในเมล็ดไปแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20-30 เม็ด ขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทานพอสมควร
คุณค่าทางโภชนาการ ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัด เรียกว่า “มะขามเปียก” ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย
คติความเชื่อ : ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) ของบ้าน เพื่อป้องกันสิ่งไม่ดี ผีร้ายมิให้มากล้ำกลาย อีกทั้งต้นมะขามยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ถือกันเป็นเคล็ดว่าจะทำให้มีแต่คนเกรงขาม

images

ประโยชน์ของต้นมะขาม
– ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก) เปลือกต้น (ทั้งสดหรือแห้ง) เนื้อในเมล็ด
– สรรพคุณและวิธีใช้:แก้อาการท้องผูก ใช้เนื้อฝักแก่หรือมะขามเปียก 10–20 ฝัก (หนักประมาณ 70–150 กรัม) จิ้มกับเกลือรับประทาน หรือใส่เกลือเติมน้ำคั้นดื่ม
แก้อาการท้องเดิน ใช้เปลือกต้น ทั้งสดหรือแห้งประมาณ 1–2 กำมือ (15–30 กรัม) ต้มกับน้ำปูนใสหรือน้ำรับประทาน

download-3
ถ่ายพยาธิลำไส้ ใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกเอาออกเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20–30 เมล็ด เหมาะสำหรับถ่ายพยาธิไส้เดือน
แก้ไอขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทาน
– การขยายพันธุ์ : นิยมขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง ติดตาหรือต่อกิ่ง เพราะได้ผลเร็วและไม่ทำให้กลายพันธุ์
– สภาพดินฟ้าอากาศ : ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดแม้แต่ดินเลว เช่นดินลูกรัง เจริญได้ดีในดินร่วนปนดินเหนียว ทนแล้งได้ดี ฤดูปลูกที่เหมาะสม คือต้นฤดูฝน
ควรหาเศษหญ้าฟางคลุมโคนจนกว่าต้นจะแข็งแรง ควรฉีดยาป้องกันโรคราแป้งและแมลงพวกหนอนเจาะฝัก ด้วงเจาะเมล็ด ในระยะที่เป็นดอกอยู่
– คุณค่าทางโภชนาการ : ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัด เรียกว่า “มะขามเปียก” ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย
– มะขามเปียกอุดมด้วยกรดอินทรีย์ อาทิ กรดซิตริค (Citric Acid) กรดทาร์ทาริค(Tartaric Acid) หรือกรดมาลิค(Malic Acid) เป็นต้น มีคุณสมบัติชำระล้างความสกปรกรูขุมขน คราบไขมันบนผิวหนังได้ดีมาก